วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอ่านค่าความต้านทาน

การอ่านค่าความต้นทานนั้นอ่านตามหน่วยของความต้านทาน ( Unit of Resistance) โดยอ่านตามค่าความต้านทานที่แสดงไว้บนตัวเลขและตัวอักษรรวมกัน แบ่งการแสดงค่าออกเป็น 2 แบบ คือแบบแสดงค่าความต้านทานโดยตรงและแบบแสดงค่าความต้านทานเป็นรหัส ซึ่งอาจเป็นรหัสสีของตัวต้านทานแต่ละวิธีการอ่านมีดังนี้

การอ่านค่ารหัสสีของตัวต้านทาน
การอ่านค่ารหัสสีของตัวต้านทานมีอยู่ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1
อ่านจากค่าพิมพ์ที่ติดไว้บนตัวต้านทาน โดยจะบอกเป็นค่าความต้านทาน ค่าเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด และอัตราทดกำลังไฟฟ้า ซึ่งส่วนมาจะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดใหญ่ เช่นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
วิธีที่ 2
อ่านจากค่ารหัสสีของตัวต้านทาน (Resistor Colour Code)ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวต้านทานคาร์บอน ฟิล์มคาร์บอน ฟิล์มโลหะ และแบบไวร์วาวด์ที่มีขนาดเล็ก

สำหรับการอ่านค่าความต้านทานที่เป็นรหัสสี จะแบ่งลักษณะการอ่านได้เป็น 2 แบบคือ
1. ระบบตัวหัวจุก (Body – End – Dot System) คือตัวต้านทานที่มีการต่อขาใช้งานในแนวรัศมี
หรือทาด้านข้างของตัวต้านทาน
2. ระบบหัวถึงปลาย (End – To – Center Band System) คือ ตัวต้านทานที่มีลักษณะการต่อขาใช้งานตามความยาวของตัวต้านทาน
ตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน

1. การอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด
ตัวต้านทานชนิดนี้ตัวมันจะมีสีเดียวกันตลอด และมีการแต้มสีไว้บนที่ด้านหัวและตรงกลาง ซึ่งอาจจะทำเป็นจุดสีหรือทาสีไว้โดยรอบตัวต้านทาน
รูปแสดง วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด




วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.พิจารณาสีพื้นของตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 1 (ตัวเลขที่ 1 )
2.สีแต้มที่ปลายด้านหัวที่ไม่ใช่สีน้ำเงินและสีทอง จะเป็นแถบสีที่ 2 (ตัวเลขที่ 2 )
3.สีแต้มหรือจุดสีที่อยู่ตรงกลางตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 3 (ตัวคูณ)
4.สีที่ปลายด้านท้ายที่เป็นสีเงิน สีทองหรือไม่มีสี จะเป็นแถบสีที่ 4 ( +_ % ค่าผิดพลาด)ในการการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด จะมีทั้งแบบ 3 หรือ 4 แถบสี ซึ่งจะมีวิธีการอ่านที่เหมือนกัน และใช้ค่ารหัสสีตัวต้านทานในตารางที่ 1

2. การอ่านรหัสสีของตัวต้านทานระบบหัวถึงปลาย
ตัวต้านทานบางแบบนิยมแสดงค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสีโดยใช้สีที่เป็นมาตรฐานกำหนดแทนตัวเลขซึ่งแทนทั้งค่าความต้านทานและค่าความผิดพลาด แถบสีที่ใช้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบ 4 แถบสี และแบบ 5 แถบสี การอ่านค่าแถบสีเป็นค่าความต้านทานและค่าผิดพลาด ต้องเปลี่ยนแถบสีที่ทำกำกับไว้เป็นตัวเลขทั้งหมด แทนค่าตัวเลขให้ถูกต้องตามค่าตัวตั้ง ค่าตัวคูณ และค่าผิดพลาด ตามมาตรฐานที่กำหนด จะได้ค่าความต้านทานและค่าผิดพลาดของตัวต้านทานตัวนั้นออกมา แบบ 4 แถบสี ตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี มีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 4 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ขาตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 แถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 2 ทั้ง 2 แถบสีแทนค่าเป็นตัวเลขแล้วอ่านได้โดยตรง ส่วนแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 3 เป็นแถบสีตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 4 เป็นแถบสีแสดงค่าผิดพลาด แสดงดังตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน


ตัวอย่างการอ่านรหัสสีตัวต้านทาน





ตัวอย่าง 1









แบบ 5 แถบสี
ตัวต้านทานแบบ 5 แถบสีจะมีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 5 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 เรียงลำดับเข้ามาเป็นแถบสีที่ 2 และแถบสีที่ 3 ทั้ง 3 แถบสิ่งที่เป็นตัวเลขสามารถอ่านค่าได้โดยตรง ส่วนแถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีที่ 5 เป็นค่าผิดพลาด แสดงดังตารางที่ 2
ตารางตัวอย่างตัวต้านทานแบบ 5 แถบสี
แบบ6 แถบสี

สิ่งที่แตกต่างที่เพิ่มเข้ามานั้น คือการอ่าน นั้นจะอ่าน คล้ายกับ R 5 แถบสี แต่ จะมีแถบสีที่บ่งบอกค่า สัมประสิทธิ์อุณหภูมิเพิ่มเข้ามา เพราะฉะนั้น ใครไป พบเจออุปกรณ์ มีรูปร่าง แบบนี้ จะได้ไม่ต้องงงเหมือนผมครับ R 6 แถบสี มักจะอยู่ในอุปกรณ์ ที่ต้องการ ค่าความ เที่ยงตรงในการผลิตสูงๆ ถ้าเรา ไม่ทราบ ค่า Rโดยจากการ อ่าน แถบสี เราก็สามารถ ใช้ตัวช่วยที่มี อยู่ ทั่วไปในปัจจุบันได้ ยกตัวอย่างโปรแกรมจากทางเว็บไซต์ นี้เลย


http://www.wara.com/modules.php?name=News&file=article&sid=586
http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/note/content3.html

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า






เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า



ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับน้ำมัน แต่มีสภาพเป็นก๊าซหรือไอ อาจเกิดร่วมอยู่ในแหล่งเดียวกันกับน้ำมันดิบหรือเกิดเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติอิสระเป็นพลังงานที่ค่อนข้างสะอาดไม่มีควันและเขม่าอีกทั้งยังสามารถใช้ทดแทนน้ำมันได้ดีและรวดเร็วค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติจะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบและปริมาณสัดส่วนของก๊าซไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนที่ติดไฟ เป็นสำคัญองค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย มีดังนี้

-ส่วนที่เป็นไฮโดรคาร์บอน ใช้เป็นเชื้อเพลิง และพลังงานในสัดส่วนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 70

-ส่วนเจือปนซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อย คือ ไนโตรเจน (0.9 1 %) คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (5 – 25%)และไอน้ำ

-ส่วนที่เป็นมลทิน ได้แก่ ไฮโดรเจนซัลไฟด์และซัลเฟอร์ ซึ่งมีสัดส่วนน้อยมาก

ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย มีค่าความร้อนเฉลี่ยประมาณ 1,000 บีทียู/ลูกบาศก์ฟุต

ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยที่ธนาคารโลกได้ประเมินไว้ มีประมาณ 19.25 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในจำนวนนี้มีแหล่งก๊าซธรรมชาต ิที่สำคัญได้แก่ แหล่งก๊าซธรรมชาติในบริเวณอ่าวไทย 12 แหล่ง และบนบกอีก 1 แหล่งโดยคาดว่ามีปริมาณสำรองทั้งหมด 12.9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งในจำนวนนี้ 3.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตได้ค้นพบแล้ว และอยู่ในระหว่างการพัฒนาและนำขึ้นมาใช้ จากการประเมินระดับการผลิตปิโตรเลียม ( ก๊าซธรรมชาติ, ก๊าซธรรมชาติเหลว และน้ำมันดิบ) ของคณะทำงานจัดเตรียมงานวางแผน ด้านอุปทานและการลงทุนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 6 แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีพื้นฐาน (Base Case) ประเมินจากแหล่งที่ค้นพบแล้ว และกรณีที่น่าจะเป็นไปได (Possible Case) ประเมินจากกรณีพื้นฐานและที่คาดว่าจะพบและพัฒนาต่อไป ระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติทั้ง 2 กรณีในช่วงปี พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2544 ก๊าซธรรมชาติ นี้สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ
อาทิเช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียมปุ๋ย ปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมย่อย


การใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ






องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ

(ส่วนประกอบที่ไม่ใช่ ไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้านล่างของภาพ)







น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลว

น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลว เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีสภาพเป็นของเหลวโดยที่ก๊าซธรรมชาติเหลวจะอยู่ร่วมกับก๊าซธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการพัฒนาก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นพลังงานที่ง่ายต่อการนำมาใช้โดยเมื่อกลั่นแล้ว จะได้ผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในด้านการขนส่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตรและอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัจจุบันน้ำมันดิบยังคง เป็นต้นพลังงานที่สำคัญของโลกและประเทศไทย ปริมาณน้ำมันดิบสำรองของโลกที่ค้นพบแล้วมีอยู่ 681,000 ล้านบาเรล 6 สำหรับ ประเทศไทย นั้นมีแต่แหล่งน้ำมันดิบเล็กๆและมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สามารถให้ก๊าซธรรมชาติที่สามารถให้ก๊าซธรรมชาติเหลวได้ ธนาคารโลกได้ประเมินปริมาณสำรองน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวไว้ทั้งสิ้น 1,150 ล้านบาเรล ในจำนวนนี้มีแหล่งก๊าซธรรมชาติเหลว
และน้ำมันดิบที่สำคัญ

ถ่านลิกไนต์

ถ่านลิกไนต์ คือ เชื้อเพลิงธรรมชาติประเภทถ่านหินระดับ (Rank) ต่ำ คือ เมื่อเผาไหม้ใจะให้พลังงานความร้อนออกมาประมาณ 3,500 ถึง 4,611 แคลรอลี่ต่อกรัม หรือ 6,300 – 8,300 บีทียูต่อปอนด์ (m mm)1/ ตามมาตรฐาน ASTM มีต้นกำเนิดจากการสะสมตัวและสลายตัวของพืชโดยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ,ชีวเคมี และฟิสิกส์อันเนื่องมาจากความร้อน ,ความกดดันและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ตลอดช่วง
ระยะเวลาหนึ่ง (ประมาณ 2 – 65 ล้านปี) ถ่านลิกไนต์มีบทบาทต่อการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของธรรมชาติมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2498 โดยการนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าวัดเลียบเป็นแห่งแรก และต่อมาที่แม่เมาะในปี พ.ศ. 2503 กระบี่ในปี พ.ศ.2507 เป็นลำดับจนกระทั่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ประมาณ 7% ของกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดของประเทศเมื่อปี พ.ศ.2512 และมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์นำมันปลายปี พ.ศ. 2516 ในปีพ.ศ. 2528 กำลังผลิตไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์เพิ่มขึ้นเป็น 14% ของกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดของประเทศ

ปริมาณสำรองถ่านหิน

ปริมาณสำรองถ่านหิน(ลิกไนต์และถ่านหินแระเภทอื่น) ทางธรณีวิทยา หรือ Geological Reserve ทั้งหมดของประเทศทั้งแหล่งที่ได้พัฒนาทำเหมืองแล้วและที่ยังไม่พัฒนา พบว่ามีปริมาณสำรองฯ ไม่น้อยกว่า 1,800 ล้านตัน ซึ่งประมาณ 82% ของปริมาณสำรองนี้หรือประมาณ 1,491 ล้านตัน เป็นปริมาณสำรองของแหล่งถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ จังหวัดลำปางซึ่งเป็นแหล่ง ถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน

การผลิตถ่านหิน

แหล่งผลิตที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ โดยเฉพาะที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งดำเนินกิจการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ นับเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในจำนวนเหมืองถ่านหินทั้งหมด โดยในปี 2528 สามารถผลิตได้รวม 4.24 ล้านตัน หรือประมาณ 82%ของประมาณผลผลิตรวมทั้งประเทศปัจจุบันมีเหมืองถ่านหินทั้งหมด 12 เหมือง ดำเนินกิจการโดยรัฐบาล 3 เหมือง อีก 9 เหมืองดำเนินการโดยเอกชนการใช้ถ่านหินในการผลิตพลังงานไฟฟ้าปริมาณการใช้ถ่านหิน (ลิกไนต์) และปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตระหว่างปี 2512 ถึง 2528 ปี พ.ศ. 2528 ส่งถ่านลิกไนต์ให้กับโรงไฟฟ้าลิกไนต์แม่เมาะ 7 หน่วย รวมกำลังผลิต 825,000 กิโลวัตต์ และโรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่ 3 หน่วย ๆ ละ 20,000 กิโลวัตต์ นอกจากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ยังได้วางแผนที่จะติดตั้งโรงไฟฟ้าลิกไนต์หน่วยที่ 8,9 และ 10 (ขนาดหน่วยละ 300,000กิโลวัตต์) ที่แม่เมาะอีกด้วย

หินน้ำมัน

หินน้ำมัน คือ หินดินดานมีเนื้อละเอียดเกิดจากการทับทมของสารอินทรีย์สะสมรวมกับเศษหินดินทรายต่างๆอยู่ในที่ที่เคยเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่เป็นเวลาหลายล้านปี มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลไหม้ มีส่วนประกอบของสารอินทรีย์ที่เรียกว่า คีโรเจน (Kerogen) ซึ่งเมื่อถูกทำให้ร้อนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งประมาณ 500 องศาเซลเซียสจะให้น้ำมันและก๊าซไฮโดรคาร์บอนออกมา ซึ่งสามารถนำไปกลั่นเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหลายประเภทเช่นเดียวกับการกลั่นน้ำมันดิบ

แหล่งหินน้ำมัน คุณภาพ และปริมาณสำรอง

แหล่งหินน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ โดยเฉพาะแหล่งหินน้ำมันแม่สอดซึ่งเป็นแหล่งหินน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน จากการสำรวจแหล่งหินน้ำมันระหว่างปี 2517 – 2526 พบแหล่งหินน้ำมันจำนวน 9 แห่ง มีปริมาณสำรองทางธรณีวิทยารวมกันไม่น้อยกว่า 11,000 ล้านเมตริกตัน การใช้ประโยชน์จากหินน้ำมัน


การใช้ประโยชน์จากหินน้ำมัน โดยทั่วไปสามารถทำได้ 3 วิธี คือ

1.การใช้หินน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง คือ การนำหินน้ำมันมาบดเป็นผงแล้วพ่นเข้าไปใน เตาที่ได้รับการออกแบบโดยเฉพาะเมื่อพ่นเข้าไป แล้วจะเกิดการเผาไหม้โดยตรงพลังงานความร้อนที่ได้รับจากการเผาไหม้นี้สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้ การใช้ประโยชน์จากหินน้ำมัน คือ การนำหินน้ำมันมาสกัดเพื่อให้ได้น้ำมันหินออกมาและนำไปใช้ประโยชน์ได้



การใช้ประโยชน์จากกากหินน้ำมัน เป็นการใช้ผลพลอยได้จากการใช้หินน้ำมัน คุณภาพต่ำโดยวิธีในข้อ 1 สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์วัสดุ
ก่อสร้าง เช่น ผสมปูนซีเมนต์ หรืออิฐก่อสร้าง เป็นต้น

2.การใช้ประโยชน์จากหินน้ำมันในอุตสาหกรรมต่างๆยังไม่มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางแต่มีผู้ให้ความสนใจกันมากขึ้นในฐานะพลังงานทดแทนรูปแบบหนึ่ง ภายหลังจากการเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันเมื่อปลายปี 2516 เป็นต้นมา

3.ในด้านการนำหินน้ำมันมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้านั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โดยความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี กำลังศึกษาความ เหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำหินน้ำมันมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นพลังงานทดแทนอีกรูปแบบหนึ่ง

http://prinfo.egat.co.th/gas.html แหล่งอ้างอิง

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ





ลักษณะการทำงาน

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย โรงไฟฟ้าชนิดนี้ใช้น้ำในลำน้ำธรรมชาติเป็นพลังงาน ในการเดินเครื่อง โดยวิธีสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำไว้ เป็นอ่างเก็บน้ำ ให้มีระดับอยู่ในที่สูงจนมีปริมาณน้ำ และแรงดันเพียงพอที่จะนำ มาหมุนเครื่องกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งอยู่ในโรงไฟฟ้าท้ายน้ำที่มีระดับต่ำกว่าได้ กำลังผลิตติดตั้งและพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าชนิดนี้ จะเพิ่มเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงดันและปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเครื่องกังหันน้ำ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบ่งตามลักษณะการบังคับน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ 4 แบบ คือ

1. โรงไฟฟ้าแบบมีน้ำไหลผ่านตลอดปี(Run-of-river Hydro Plant)

โรงไฟฟ้าแบบนี้ไม่มีอ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าโดยการใช้น้ำที่ไหลตามธรรมชาติของลำน้ำ หากน้ำมีปริมาณมากเกินไป กว่าที่โรงไฟฟ้าจะรับไว้ได้ก็ต้องทิ้งไป ส่วนใหญ่โรงไฟฟ้าแบบนี้จะอาศัยติดตั้งอยู่กับเขื่อนผันน้ำชลประทานซึ่งมีน้ำไหลผ่านตลอดปี จากการกำหนดกำลังผลิตติดตั้งมักจะคิดจากอัตราการไหลของน้ำประจำปีช่าวต่ำสุดเพื่อที่จะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้อย่าง สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าชนิดนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าที่ กฟผ.กำลังศึกษาเพื่อก่อสร้างที่เขื่อนผันน้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท และเขื่อนผันน้ำวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี

2. โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก (Regulating Pond Hydro Plant)

โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่สามารถบังคับการไหลของน้ำได้ในช่วงสั้นๆ เช่น ประจำวัน หรือประจำสัปดาห์ การผลิตไฟฟ้า จะสามารถควบคุมให้สอดคล้องกับความต้องการได้ดีกว่าโรงไฟฟ้าแบบ (Run-of-river) แต่อยู่ในช่วงเวลาที่จำกัดตามขนาด ของอ่างเก็บน้ำ ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าประเภทนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี และโรงไฟฟ้าขนาดเล็กบ้านสันติ จังหวัดยะลา

3. โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (Reservoir Hydro Plant)

โรงไฟฟ้าแบบนี้มีเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่และสูงกั้นขวางลำน้ำไว้ ทำให้เกิดเป็นทะเลสาบใหญ่ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝน และนำไปใช้ในฤดูแล้งได้ โรงไฟฟ้าแบบนี้นับว่ามีประโยชน์มาก เพราะสามารถควบคุมการใช้น้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า เสริมในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงตลอดปี โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ส่วนมากในประเทศไทย จัดอยู่ในโรงไฟฟ้าประเภทนี้

4. โรงไฟฟ้าแบบสูบน้ำกลับ ( Pumped Storage Hydro Plant)

โรงไฟฟ้าแบบนี้มีเครื่องสูบน้ำที่สามารถสูบน้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำลงมาแล้ว นำกลับขึ้นไป เก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ผลิต กระแสไฟฟ้าได้อีก ประโยชน์ของโรงไฟฟ้าชนิดนี้เกิดจากการแปลงพลังงานที่เหลือใช้ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ เช่นเวลาเที่ยงคืนนำไปสะสมไว้ในรูปของการเก็บน้ำในอ่างน้ำเพื่อที่จะสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครั้งหนึ่งในช่วงที่มีความ ต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เช่น เวลาหัวค่ำ ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าแบบนี้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ได้หน่วยที่ 4 ซึ่งสามารถ สูบน้ำกลับขึ้น ไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ได้

ส่วนประกอบที่สำคัญ

เขื่อนเก็บกักน้ำ ทำหน้าที่เก็บกักน้ำในลำน้ำไว้เป็นอ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณ และระดับน้ำสูงพอที่จะใช้ในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ 5 ประเภท คือ


เขื่อนหิน

เขื่อนชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องมีดินฐานรากที่แข็งแรงมาก วัสดุที่ใช้เป็นตัวเขื่อนประกอบด้วยหินถมที่หาได้จากบริเวณใกล้เคียง กับสถานที่ก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ มีผนังกันน้ำซึมอยู่ตรงกลางแกนเขื่อน หรือด้านหน้าหัวเขื่อนโดยวัสดุที่ใช้ทำผนังกันน้ำซึม อาจจะเป็นดินเหนียว คอนกรีตหรือวัสดุกันซึมอื่นๆ เช่น ยางแอสฟัลท์ก็ได้ ตัวอย่าง เขื่อนชนิดนี้ในประเทศไทย ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนบางลาง เป็นต้น

เขื่อนดิน

เขื่อนดินมีคุณสมบัติและลักษณะในการออกแบบคล้ายคลึงกับเขื่อนหิน แต่วัสดุที่ใช้ถมตัวเขื่อนมีดินเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างเขื่อนชนิดนี้ ในประเทศไทย ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแก่งกระจาน และเขื่อนแม่งัด เป็นต้น

เขื่อนคอนกรีตแบบกราวิตี้

เขื่อนชนิดนี้ใช้ก่อสร้างในที่ตั้งที่มีหินฐานรากเป็นหินที่ดีมีความแข็งแรง การออกแบบตัวเขื่อนเป็นคอนกรีตที่มีความหนาและ น้ำหนักมากพอที่จะต้านทานแรงดันของน้ำ หรือแรงดันอื่นๆได้ โดยอาศัยน้ำหนักของตัวเขื่อนเอง รูปตัดของตัวเขื่อน มักจะเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นแนวตรงตลอดความยาวของตัวเขื่อน

เขื่อนคอนกรีตแบบโค้ง

เขื่อนคอนกรีตแบบโค้ง มีคุณสมบัติที่จะต้านแรงดันของน้ำและแรงภายนอกอื่นๆ โดยความโค้งของตัวเขื่อน เขื่อนแบบนี้เหมาะ ที่จะสร้างในบริเวณหุบเขาที่มีลักษณะเป็นรูปตัว U และมีหินฐานรากที่แข็งแรง เมื่อเปรียบเทียบเขื่อนแบบนี้กับ เขื่อนแบบกราวิตี้ เขื่อนแบบนี้มีรูปร่างแบบบางกว่ามากทำให้ราคาค่าก่อสร้างถูกกว่า แต่ข้อเสียของเขื่อนแบบนี้ คือการออกแบบ และการดำเนินการก่อสร้างค่อนข้างยุ่งมาก มักจะต้องปรับปรุงฐานรากให้มีความแข็งแรงขึ้นด้วย เขื่อนภูมิพลซึ่งเป็น เขื่อนขนาดใหญ่แห่งแรกในประเทศไทย มีลักษณะผสมระหว่างแบบกราวิตี้และแบบโค้ง ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรง และประหยัด

เขื่อนกลวงหรือเขื่อนครีบ

เขื่อนกลวงมีโครงสร้างซึ่งรับแรงภายนอก เช่น แรงดันของน้ำ ที่กระทำต่อผนังกั้นน้ำที่เป็นแผ่นเรียบหรือครีบ (Buttress) ที่รับผนังกั้นน้ำและถ่ายแรงไปยังฐานราก เขื่อนประเภทนี้มักจะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้วัสดุก่อสร้างน้อย โดยทั่วไปแล้วเป็นเขื่อนที่ประหยัดมาก แต่ความปลอดภัยของเขื่อนประเภทนี้มีน้อยกว่าเขื่อนกราวิตี้ เนื่องจากมีความแข็งแรงน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมสร้างเขื่อนประเภทนี้มากนัก

เครื่องกังหันน้ำ (Hydro Turbine) ทำหน้าที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำมาหมุนเครื่องกังหันน้ำซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กังหันน้ำจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ Reaction กับ Impulse กังหันน้ำทั้ง 2 ประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกัน

คุณสมบัติที่แตกต่างกันของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

ประเภทของกังหันน้ำ
Reaction Impulse
1. น้ำที่เข้าไปหมุน Runner ท่วม ไม่ท่วม
2. ความกดดันของน้ำที่เข้าไปดัน สูงกว่าบรรยากาศ เท่าบรรยากาศ
ใบกังหันของ Runner
3. น้ำที่เข้าไปสู่ Runner เต็มทุกช่องพร้อมกัน เป็นจุด ๆ
4. พลังงานที่น้ำถ่ายเทให้แก่ Runner เป็นพลังงานจลน์และเป็นพลังงานจลน์
เป็นพลังงานจลน์อย่างเดียว
และพลังงานศักย์


กังหันน้ำประเภท Reaction ที่ใช้กันแพร่หลายอยู่ทั่วไป คือ แบบ Francis และ Kaplan ส่วนกังหันน้ำประเภท Impulse นั้นแบบที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันดีว่าแบบอื่น ๆ ก็คือ กังหันน้ำแบบ Pelton การพิจารณาเลือกสรรประเภท และแบบของกังหันน้ำเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของงานนั้นอาศัยหลักเกณฑ์กว้างๆพอเป็นแนวทางได้ดังนี้

Head
กังหันน้ำแบบ (เมตร)
Kaplan (Fixed - blade) 1 ถึง 30
Kaplan (Adjustable - blade) 1 ถึง 60
Francis 25 ถึง 450
Pelton 250 ขึ้นไป

ในกรณีนี้น้ำซึ่งใช้หมุนกังหันน้ำ มีกรวดทรายปนอยู่ด้วย และกังหันมีแรงม้าไม่สูงนักแล้วกังหันน้ำแบบ Pelton เป็นดีที่สุด ซึ่งอาจใช้กับ
Head ต่ำลงมาถึง 120 หรือ 150 เมตร ได้

Runner ของกังหันน้ำแบบต่าง ๆ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Generator) จำแนกตามความเร็วรอบและขนาดอย่างกว้างๆได้ดังต่อไปนี้ (ความถี่มาตรฐาน 50 ไซเกิลวินาที) เครื่องความเร็วรอบสูง ขนาดเล็ก คือ ขนาด 200 – 2,000 เควี เอ.หมุน 1,000 – 750 รอบต่อนาที (หรืออาจต่ำกว่านี้) ส่วนมากเป็นชนิดเพลานอน (Horizontal Shaft) ต่อตรงกับกังหันน้ำประเภท Impulse บางทีก็เป็นชนิดเพลาตั้ง(Vertical Shaft) ต่อตรงหรือขับด้วยเกียร์จากกังหันรอบช้า ในบางโอกาสที่ใช้กับกังหันน้ำประเภท Reaction ด้วยก็มี เครื่องความเร็วรอบสูง ขนาดใหญ่ คือขนาด 3,000 – 100,000 เควี เอ. หรือสูงกว่านี้หมุน 750 – 333 รอบต่อนาที มีทั้งชนิดเพลานอนและเพลาตั้ง เหมาะกับกังหันน้ำประเภท Impulse หรือ Reaction เครื่องความเร็วรอบต่ำ ขนาดเล็ก คือ ขนาด 200 – 2,00 เควี. หมุน 250 รอบต่อนาทีลงมา จนถึงขนาด 5,000 หรือ 10,000 เควี หมุน 125 รอบต่อนาทีลงมา ส่วนมากเป็นชนิดเพลาตั้ง เหมาะกับกังหันน้ำแบบ Francis และ Kaplan เครื่องความเร็วรอบต่ำ ขนาดใหญ่ คือ ขนาด 5,000 – 250,000 เควีเอ. หมุนหรือสูงกว่านี้ หมุน 250 – 75 รอบต่อนาที เป็นเครื่องชนิดเพลาตั้ง เหมาะกับกังหันน้ำแบบ Francis และ Kaplan 2.6.3 ค่าลงทุนขั้นแรกและต้นทุนการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังน้ำใหม่มีค่าลงทุนขั้นแรกประมาณ 20,000 – 56,375 บาทต่อกิโลวัตต์ คิดเป็นต้นทุนการผลิตประมาณ 1.20 – 2.20 บาทต่อหน่วย

http://prinfo.egat.co.th/hydro_plants.html แหล่งอ้างอิง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาพลวงตา หมายถึงภาพที่หลอกตาให้มองเห็นและรับรู้ผิดพลาดไปจากความจริง ส่วนใหญ่สายตาจะรับรู้ผิดพลาดเกี่ยวกับรูปทาง ขนาด และ สี

ตาของทุกคน บางครั้งไม่ได้เห็นสิ่งที่เป็นอยู่จริง และสามารถหลอกได้ไม่ยากนัก ก่อนที่จะกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาพลวงตา ขอกล่าวถึงการทำงานประสานกันระหว่างตาและสมองดังนี้ ตาและสมองทำงานประสานกันอย่างใกล้ชิดมาก โดยตาเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่รับภาพเข้ามา ส่วนสมองทำงหน้าที่ประมวลผล และวิเคราะห์ว่าภาพที่รับเข้ามานั้นเป็นภาพอะไร มีสีอะไร เป็นภาพเคลื่อนไหวหรือภาพนิ่ง เมื่องแสงจากวัตถุกระทบเลนส์ตา จะเกิดการหักเหและปรากฏเป็นภาพจริง

การทำงานประสานกันระหว่างตาและสมอง

2

สาเหตุของการเกิดภาพลวงตา

1. เกิดจากความสามารถในการกวาดสายตาในแนวดิ่งและแนวราบไม่เท่ากัน

3


2. เกิดจากตาสองข้างส่งข้อมูลที่แตกต่างไปยังสมอง

4


3. เกิดจากการเติมสิ่งหนึ่งสิ่งใด ( เช่นภาพแรกที่จริงๆแล้วเป็นเส้นขนาน )

5


4. เกิดจากการเกิดมุมหรือตัดกันของเส้น

6


5. เกิดจากการเปรียบเทียบ หรือขนาดสัมพัทธ์ (Relative size )
7

6. เกิดจากสิ่งแวดล้อม

10

101

7. เกิดจากการมองเห็นภาพด้วยนัยน์ตาทั้งสองข้าง

13

การชี้นิ้วจากมือทั้งสองข้างเข้าหากันในระดับสายตาห่างจากนัยน์ตาประมาณ 25 เซ็นติเมตร แล้วก็ใช้นัยน์ตาทั้งสองข้างมองไปที่ปลายนิ้วทั้งสองแล้วค่อยๆเลื่อนนิ้ว เข้าหากัน
จะเกิดภาพดังรูป

8. เกิดจากเซลล์ประสาทมีขีดจำกัดในการรับรู้

15

เราจะเห็นภาพลวงตาสีเทา บริเวณจุดตัดของตารางเกิดจากเซลล์ประสาทมีขีดจำกัดในการรับรู้ ภาพแบบนี้เราเรียกว่า ( Grid illusion )
คิดค้นโดย ลูดิมาร์ เฮอร์มันน์ ในปี พ.ศ. 2413

9. เกิดจากสมบัติของแสง

ภาพลวงตาที่เกิดจากการสะท้อนของแสงทำให้เห็นภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าวัถุของจริง

16

167

หากเป็นกระจกนูนก็จะมีขนาดเล็กลงกว่าของจริง

ข้อมูลจาก electron.rmutphysics.com

ชุดภาพหลอกตา – ภาพนิ่ง

24

มันคือเส้นขนานครับ

121

131

รูปเด็กน้อย

16

เสาเป็นสีเหลี่ยมหรือวงกลม

x3593573-151

หน้าคน


สีเหลี่ยมจัตุรัส

x3593573-170

เส้นที่เห็นเป็นเส้นตรง

x3593573-199

สีเขียวนั้นเป็นสีเดียวกัน

ชุดภาพหลอกตา – เคลื่อนไหว

14


ขอบคุณทุกคนนะค่ะ............ที่เม้นมาให้..........ดิฉันนางสาวลลิตา สุวี.........

ขอขอบคุณค่ะ........(จากใจ)



การสะท้อนแสง (Reflection)

การสะท้อนแสง หมายถึง การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วสะท้อนไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทาง เดิมการสะท้อนของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุด้วยว่าเรียบหรือหยาบโดย ทั่วไปพื้นผิวที่เรียบและมันจะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบมีค่าเท่ากับมุม สะท้อนตำแหน่งที่แสงตกกระทบกับแสงสะท้อนบนพื้นผิวจะเป็นตำแหน่งเดียวกันดัง รูปที่ 4.1 ก. ลักษณะของวัตถุดังกล่าว เช่น อลูมิเนียมขัดเงาเหล็กชุบโครเมียม ทอง เงินและกระจกเงา เป็นต้น แต่ถ้าหากวัตถุมีผิวหยาบ แสงสะท้อนก็จะมีลักษณะกระจายกันดังรูปที่ 4.1 ข. เช่น ผนังฉาบปูนกระดาษขาว โดยทั่วไปวัตถุส่วนใหญ่จะเป็นแบบผสมขึ้นอยู่กับผิวนั้นมีความมันหรือหยาบ มากกว่า จะเห็นการสะท้อนแสงได้จากรูป 4.1 ก. และรูปที่ 4.1 ข.
รูป ก.การสะท้อนแสงบนวัตถุผิวเรียบ
รูป ข. การสะท้อนแสงผิวขรุขระ



กฎการสะท้อนแสง


1. รังสีตกกระทบ เส้นปกติและรังสีสะท้อนย่อมอยู่บนพื้นระนาบเดียวกัน

2. มุมในการตกกระทบย่อมโตเท่ากับมุมสะท้อน
แสดงกฎของการสะท้อนแสง

การหักเหของแสง (Refraction)

การหักเห หมายถึง การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้แนวลำแสงเกิด การเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิม เช่น แสงผ่านจากอากาศไปยังน้ำ ดังแสดงในรูป
รูปแสดงลักษณะการเกิดหักเหของแสง

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง

- ความถี่ของแสงยังคงเท่าเดิม ส่วนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไม่เท่าเดิม

- ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงจะอยู่ในแนวเดิมถ้าแสงตำตั้งฉากกับผิวรอยต่อของ ตัวกลางจะไม่อยู่ในแนวเดิม ถ้าแสงไม่ตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของการหักเหของแสงเช่น แผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจกหรือพลาสติก เพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟที่ออกจากโคมไปในทิศทางที่ต้องการ จะเห็นว่าแสงจากหลอดไฟจะกระจายไปยังทุกทิศทางรอบหลอดไฟแต่เมื่อผ่านแผ่นปิด หน้าโคมไฟแล้ว แสงจะมีทิศทางเดียวกัน เช่นไฟหน้ารถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ดังรูปที่ แสงที่ผ่านโคมไฟฟ้าหน้ารถยนต์มีทิศทางเดียวกัน

การกระจายแสง (Diffusion)

การกระจายแสง หมายถึง แสงขาวซึ่งประกอบด้วยแสงหลายความถี่ตกกระทบปริซึมแล้วทำให้เกิดการหักเหของ แสง 2 ครั้ง (ที่ผิวรอยต่อของปริซึม ทั้งขาเข้า และขาออก) ทำให้แสงสีต่าง ๆ แยกออกจากกันอย่างเป็นระเบียบเรียงตามความยาวคลื่นและความถี่ ที่เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum) รุ้งกินน้ำ เป็นการกระจายของแสง เกิดจากแสงขาวหักเหผ่านผิวของละองน้ำ ทำให้แสงสีต่าง ๆ กระจายออกจากกันแล้วเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวด้านหลังของละอองน้ำแล้วหัก เหออกสู่อากาศ ทำให้แสงขาวกระจายออกเป็นแสงสีต่าง ๆ กัน แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคมพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟหรือ โคมไฟชนิดปิดแบบต่าง ๆ
ภาพรุ้งกินน้ำ

การทะลุผ่าน (Transmission)
การ ทะลุผ่าน หมายถึงการที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่ความถี่ไม่เปลี่ยนแปลงวัตถุที่มีคุณสมบัติการทะลุผ่านได้ เช่น กระจก ผลึกคริสตัล พลาสติกใส น้ำและของเหลวต่าง ๆ
การดูดกลืน (Absorbtion)
การ ดูดกลืน หมายถึง การที่แสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในตัวกลางดยทั่วไปเมื่อมีพลังงานแสงถูกดูดกลืน หายเข้าไปในวัตถุใด ๆเช่น เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องต้มน้ำพลังงานแสง และยังนำคุณสมบัติของการดูดกลืนแสงมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าสีขาวจะดูดแสงน้อยกว่าสีดำ จะเห็นได้ว่าเวลาใส่เสื้อผ้าสีดำ อยู่กลางแดดจะทำให้ร้อนมากกว่าสีขาว การแทรกสอด (Interference) การ แทรกสอด หมายถึง การที่แนวแสงจำนวน 2 เส้นรวมตัวกันในทิศทางเดียวกัน หรือหักล้างกัน หากเป็นการรวมกัน ของแสงที่มีทิศทางเดียวกัน ก็จะทำให้แสงมีความสว่างมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหักล้างกัน แสงก็จะสว่างน้อยลด การใช้ประโยชน์จากการสอดแทรกของแสง เช่น กล้องถ่ายรูปเครื่องฉายภาพต่าง ๆ และการลดแสงจากการสะท้อน ส่วนในงานการส่องสว่าง จะใช้ในการสะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสง
สรุป คุณสมบัติ ต่าง ๆ ของแสงแต่ละคุณสมบัตินั้น เราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของการสะท้อนแสงของวัตถุ เรานำมาใช้ในการออกแบบแผ่นสะท้อนแสงของโคมไฟ การหักเหของแสงนำ มาออกแบบแผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจก หรือพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่ออกจากโคมไปในทิศที่ต้องการ การกระจายตัวของลำแสงเมื่อกระทบตัวกลางเรานำมาใช้ประโยชน์ เช่นใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคมเพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ ต่าง ๆ การดูดกลืนแสง เรานำมาทำ เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ครื่องต้มพลังงานแสง และการแทรกสอดของแสง นำมาใช้ประโยชน์ในกล้องถ่ายรูป เครื่องฉายภาพต่าง ๆ จะเห็นว่าคุณสมบัติแสงดังกล่าวก็ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทั้ง นั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552



กล้องโทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูวัตถุที่อยู่ไกล ประกอบด้วยเลนส์ 2 เลนส์ มี 2 ประเภท คือ
ก. กล้องโทรทรรศน์หักเห (Refracting telescope) ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้วัตถุมีความยาวโฟกัสมากอาจจะถึงหลาย ๆ เมตร เนื่องจากวัตถุที่ต้องการดูอยู่ไกล มากดังนั้นภาพที่เกิดจึงตกที่จุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุเป็นวัตถุเสมือนของเลนส์ใกล้ตาโดยใช้เลนส์เว้าหรือเลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้ตาก็ได้ วัตถุเสมือนนี้จะอยู่ระหว่างจุดโฟกัส ของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ ดังนั้นภาพสุดท้ายที่เกิดขึ้นจะได้ภาพเสมือนขนาดขยาย
ข. กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflecting telescope) ใช้กระจกเว้ารูปพาราโบลาที่ไม่มีความคลาดเป็นตัวสะท้อนแสงใกล้วัตถุ ภาพที่ได้เกิดขึ้นที่ จุดโฟกัสใช้กระจกนูนเป็นตัวสะท้อนครั้งที่สอง เกิดภาพเสมือนขนาดขยาย
กล้องดาราศาสตร์เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ประกอบด้วยเลนส์นูน 2 อัน เลนส์ใกล้วัตถุจะรับแสงสะท้อนจากวัตถุที่ระยะอนันต์ เกิดภาพจริงหัวกลับที่จุดโฟกัสของเลนส์ ใกล้วัตถุแต่อยู่ในระยะที่น้อยกว่าโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา ได้ภาพเสมือนขนาดขยาย ความยาวของกล้องเท่ากับความยาวโฟกัสของเลนส์ทั้งสอง